การถือผิว(การแยกสีผิว)
นโยบายอย่างเป็นทางการของประเทศสาธารณรัฐแอฟริกาใต้ ที่จะแยกคนต่างผิวออกจากกัน โดยใช้วิธีออกกฎหมายเลือกปฏิบัติอย่างเปิดเผย นโยบายนี้ได้ออกแบบมาเพื่อให้คนกลุ่มน้อยชาวยุโรปสามารถควบคุมรัฐนี้อยู่ตลอดกาล ทั้ง ๆ ที่ประชากรของแอฟริกาใต้ ซึ่งมีอยู่ประมาณ 31 ล้านคนนั้น เป็นคนแอฟริกัน (ผิวดำ) ประมาณถึง 71 เปอร์เซ็นต์ เป็นคนยุโรป (ผิวขาว) แค่ 13 เปอร์เซ็นต์ คนผิวสี (เลือดผสม)13 เปอร์เซ็นต์ และคนเอเชีย 3 เปอร์เซ็นต์ ประเทศแอฟริกาใต้นี้ เป็นประเทศที่พัฒนาทางเศรษฐกิจแล้ว มีผลผลิตรายได้ประมาณหนึ่งในสามของรายได้รวมของทวีปแอฟริกา ทั้ง ๆ ที่มีพื้นที่เพียง 4 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ทวีป และมีประชากรเพียง 6 เปอร์เซ็นต์ของประชากรทั้งทวีป
ความสำคัญ ความโหดร้ายทารุณของการปกครองโดยคนผิวขาวนี้ ได้นำไปสู่ความรุนแรงที่พร้อมจะ ระเบิดกลายเป็นการนองเลือดได้ทุกขณะ การคัดค้านจากภายนอกโดยการนำของประชาชาติแอฟริกัน-เอเชีย เป็นตัวกระตุ้นให้ต่างชาติเข้าแทรกแซง และทำให้สถานการณ์ในแอฟริกาใต้เป็นกระทู้สดในสหประชาชาติอยู่เสมอ ถึงแม้ว่านโยบายการแยกผิวนี้จะถูกประณามจากมติโลก แต่ทว่าความพยายามทั้งหลายทั้งปวงที่จะใช้การคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อต้านนโยบายนี้ กลับล้มเหลวมาตลอด ความตึงเครียดทั้งภายในและภายนอกที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นี้ได้ทำการคุกคามสันติภาพทั้งในระดับภูมิภาคและในระดับโลกด้วย
Monday, October 19, 2009
Charismatic Leadership
ภาวะผู้นำที่มีบารมี
ภาวะผู้นำที่มีลักษณะโดดเด่นเป็นพิเศษ คือ เป็นผู้มีบารมีเหมือนกับพระผู้มาโปรด สามารถได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างท่วมท้น และในขณะเดียวกันก็ได้รับการเคารพนบนอบจากประชาชนพร้อม ๆ กันด้วย ภาวะผู้นำที่มีบารมีนี้ มักจะมีแนวโน้มไปในทางที่จะผสมผสานเข้ากับความรู้สึกทางชาตินิยม และจะกลายเป็นเอกลักษณ์หรือเป็นสัญลักษณ์ของรัฐไปด้วย ผู้นำที่มีบารมีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชาติที่เกิดใหม่ทั้งหลาย ในสายตาของผู้ตามหรือผู้สวามิภักดิ์จะมีลักษณะเป็นตัวแทนของสัจธรรม เป็นผู้ไม่มีความหวั่นกลัวใด ๆ มีความทะเยอทะยานเหนือคนธรรมดาสามัญ และได้ถูกเลือกตัวให้มาชี้นำชะตากรรมของชาติ ภาวะผู้นำที่มีบารมีตามที่ว่ามานี้ สามารถพบได้ในบุคคลสำคัญ ๆ อย่างเช่น ยาวะหะลาล เนห์รู แห่งอินเดีย เหมาเจ๋อตุง แห่งจีน อดอล์ฟ ฮิตเล่อร์ แห่งเยอรมนี และอยาตอลลาห์ โคไมนี แห่งอิหร่าน เป็นต้น
ความสำคัญ ภาวะผู้นำที่มีบารมีนี้ เป็นปรากฏการณ์ที่มักจะโยงใยไปถึงการสร้างชาติ และการเกิดความรู้สึกทางชาตินิยม จะปรากฏให้เห็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมหัวเลี้ยวหัวต่อของประเทศที่กำลังพัฒนา ที่มีลักษณะพิเศษ คือคนไม่รู้หนังสือ มีความยากจน และไม่มีประเพณีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนเป็นหลักเป็นฐานอะไร ซึ่งในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ว่ามานี้ ภาวะผู้นำที่มีบารมีนี้ จะมีลักษณะเป็นคนดี เป็นบิดาของคนในชาติ อย่างไรก็ดี เมื่อการคาดหวังของประชาชนมีเพิ่มสูงขึ้นและมีการเรียกร้องความต้องการของคนต่อรัฐบาลมากขึ้น ๆ ก็จะเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้นำเหล่านี้หันไปหาค่านิยมแบบใช้อำนาจ และจะใช้วิธีนี้เข้าแก้ปัญหาต่าง ๆ และผลที่ติดตามมา ก็คือ เกิดระบบการปกครองแบบเผด็จการที่ยึดตัวบุคคลเป็นหลัก ครั้นเมื่อผู้ปกครองหันมาใช้มาตรการบีบบังคับมากขึ้น ๆ และเกิดการสูญเสียลักษณะสัญลักษณ์การเป็นผู้นำของการปฏิวัติไป ก็จะเกิดการรัฐประหารขึ้นมาล้มล้างอำนาจ อย่างที่เคยเกิดขึ้นในประเทศกานาและอินโดนีเซีย
ภาวะผู้นำที่มีลักษณะโดดเด่นเป็นพิเศษ คือ เป็นผู้มีบารมีเหมือนกับพระผู้มาโปรด สามารถได้รับการสนับสนุนจากประชาชนอย่างท่วมท้น และในขณะเดียวกันก็ได้รับการเคารพนบนอบจากประชาชนพร้อม ๆ กันด้วย ภาวะผู้นำที่มีบารมีนี้ มักจะมีแนวโน้มไปในทางที่จะผสมผสานเข้ากับความรู้สึกทางชาตินิยม และจะกลายเป็นเอกลักษณ์หรือเป็นสัญลักษณ์ของรัฐไปด้วย ผู้นำที่มีบารมีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในชาติที่เกิดใหม่ทั้งหลาย ในสายตาของผู้ตามหรือผู้สวามิภักดิ์จะมีลักษณะเป็นตัวแทนของสัจธรรม เป็นผู้ไม่มีความหวั่นกลัวใด ๆ มีความทะเยอทะยานเหนือคนธรรมดาสามัญ และได้ถูกเลือกตัวให้มาชี้นำชะตากรรมของชาติ ภาวะผู้นำที่มีบารมีตามที่ว่ามานี้ สามารถพบได้ในบุคคลสำคัญ ๆ อย่างเช่น ยาวะหะลาล เนห์รู แห่งอินเดีย เหมาเจ๋อตุง แห่งจีน อดอล์ฟ ฮิตเล่อร์ แห่งเยอรมนี และอยาตอลลาห์ โคไมนี แห่งอิหร่าน เป็นต้น
ความสำคัญ ภาวะผู้นำที่มีบารมีนี้ เป็นปรากฏการณ์ที่มักจะโยงใยไปถึงการสร้างชาติ และการเกิดความรู้สึกทางชาตินิยม จะปรากฏให้เห็นโดยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมหัวเลี้ยวหัวต่อของประเทศที่กำลังพัฒนา ที่มีลักษณะพิเศษ คือคนไม่รู้หนังสือ มีความยากจน และไม่มีประเพณีการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนเป็นหลักเป็นฐานอะไร ซึ่งในสถานการณ์ต่าง ๆ ที่ว่ามานี้ ภาวะผู้นำที่มีบารมีนี้ จะมีลักษณะเป็นคนดี เป็นบิดาของคนในชาติ อย่างไรก็ดี เมื่อการคาดหวังของประชาชนมีเพิ่มสูงขึ้นและมีการเรียกร้องความต้องการของคนต่อรัฐบาลมากขึ้น ๆ ก็จะเป็นแรงกระตุ้นให้ผู้นำเหล่านี้หันไปหาค่านิยมแบบใช้อำนาจ และจะใช้วิธีนี้เข้าแก้ปัญหาต่าง ๆ และผลที่ติดตามมา ก็คือ เกิดระบบการปกครองแบบเผด็จการที่ยึดตัวบุคคลเป็นหลัก ครั้นเมื่อผู้ปกครองหันมาใช้มาตรการบีบบังคับมากขึ้น ๆ และเกิดการสูญเสียลักษณะสัญลักษณ์การเป็นผู้นำของการปฏิวัติไป ก็จะเกิดการรัฐประหารขึ้นมาล้มล้างอำนาจ อย่างที่เคยเกิดขึ้นในประเทศกานาและอินโดนีเซีย
Colonialism
ลัทธิล่าอาณานิคม
การปกครองดินแดนและประชากร โดยอำนาจอธิปไตยภายนอก เป็นการดำเนินนโยบายลัทธิจักรวรรดินิยม ในทางประวัติศาสตร์นั้น ลัทธิล่าอาณานิคมนี้มีอยู่หลัก ๆ 2 แบบคือ (1)ลัทธิล่าอาณานิคมที่มีการอพยพผู้คนจากประเทศเมืองแม่เข้าไปเป็นกลุ่มทางการเมืองใหม่ในดินแดนที่ห่างไกลไม่ได้มีพรมแดนติดกับเมืองแม่ และ (2) ลัทธิล่าอาณานิคมที่เข้าไปบังคับใช้กฎเกณฑ์การปกครองเหนือคนพื้นเมืองที่มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีน้อยในทวีปเอเชียและแอฟริกา ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตาม จะมีการตั้งอาณานิคมขึ้นมาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางการทหาร ความก้าวหน้าทางการเศรษฐกิจและเกียรติภูมิระหว่างประเทศของมหาอำนาจเจ้าอาณานิคมนั้น
ความสำคัญ การต่อต้านสัมพันธภาพระหว่างผู้สูงส่งกับผู้ต่ำต้อย และลัทธิเหยียดผิวที่ปรากฏอยู่ในลัทธิล่าอาณานิคม ได้ก่อให้เกิดลัทธิชาตินิยมขึ้นในหมู่ประชาชนที่ตกเป็นอาณานิคมในทวีปเอเชีย และทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นพลังต่อต้านที่ยากจะต้านทานได้ในการเมืองโลกช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามโลกครั้งที่ 2 นี้ ได้บ่งบอกออกมาให้คนพื้นเมืองได้เห็นว่าพวกจักรวรรดินิยมผิวขาวไม่มีคุณสมบัติยืนยงคงกระพันติดตัวมาแต่กำเนิดอย่างที่เคยคุยโวโอ้อวดต่อไปแล้ว ประจักษ์พยานในข้อนี้ก็คือการที่กองทัพญี่ปุ่นสามารถมีชัยชนะพวกผิวขาวชาวตะวันตกนี้ในช่วงต้น ๆ ของสงคราม นอกจากนี้แล้วพวกมหาอำนาจล่าอาณานิคมหลายชาติในเอเชียต่างเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าในสงครามครั้งนี้ไปตาม ๆ กัน จึงได้สมัครใจที่จะมอบเอกราชให้แก่อาณานิคมเหล่านี้ หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องยอมให้เอกราชเนื่องเพราะผลมาจากการใช้ความรุนแรงเข้าต่อต้านของพวกคนพื้นเมือง ขบวนการเรียกร้องเอกราชต่างก็ได้เกิดขึ้นโดยมีแรงกระตุ้นมาจากหลักการทั้งหลาย ที่ระบุอยู่ในปฏิญญาว่าด้วยดินแดนที่ยังไม่ได้ปกครองตนเองของกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งได้ใช้เป็นข้ออ้างเป็นความชอบธรรมที่จะเรียกร้องเอกราช เมื่อถึง ค.ศ. 1960 ได้เกิดชาติใหม่ ๆ ขึ้นมาทำให้สหประชาชาติมีสมาชิกเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นสองเท่าตัว จึงช่วยให้การโจมตีต่อลัทธิล่าอาณานิคมมีพลังเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ในปีเดียวกันนี้เองสมัชชใหญ่สหประชาชาติได้ยอมรับปฏิญญาว่าด้วยการให้เอกราชแก่ประเทศอาณานิคมและประชาชนในอาณานิคมนั้น ๆ และในปีถัดมา สมัชชาฯ นี้ก็ได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการพิเศษว่าด้วยการปลดปล่อยอาณานิคมเพื่อทำให้หลักการเหล่านี้เป็นจริงขึ้นมาให้จงได้ กระแสของขบวนการเรียกร้องเอกราชนี้ได้เริ่มขึ้นในเอเชียแล้วก็ได้ไหลบ่าเข้าสู่ทวีปแอฟริกา เมื่อช่วงปลายทศวรรษหลังปี ค.ศ. 1950 และในช่วงทศวรรษหลังปี ค.ศ.1960 ซึ่งก็ได้ส่งผลให้มีชาติเกิดขึ้นมาใหม่ในระบบรัฐอีกจำนวนมาก ดินแดนของโปรตุเกส คือ แองโกลา และโมแซมบิก ดินแดนของโปรตุเกส คือ กินี ตลอดจนดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติ คือ แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ (นามิเบีย) ต่างก็ได้ตกเป็นเป้าหมายสำคัญของความพยายามที่จะปลดปล่อยอาณานิคมของสันนิบาตชาติ เมื่อรัฐที่อดีตเคยเป็นอาณานิคมเหล่านี้ มีจำนวนมากเป็นประเทศส่วนใหญ่ในสมัชชาใหญ่ ก็ได้ช่วยกันหันเหความสนใจของสหประชาชาติไปสู่ปัญหาของการพัฒนาทางการเมือง การสังคม และการเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี แนวความคิดเกี่ยวกับลัทธิล่าอาณานิคมแบบใหม่ ที่กลัวว่าชาวตะวันตกจะกลับมายึดอาณานิคมใหม่ได้ก่อให้เกิดการประดักประเดิดในหมู่ประเทศที่เกิดใหม่เหล่านี้ คือ เมื่อประเทศเหล่านี้ต้องการความช่วยเหลือจากอดีตเจ้าอาณานิคมของตน แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ต้องการให้อดีตเจ้าอาณานิคมเหล่านี้เข้ามาแทรกแซงในกิจการภายในของพวกตน กระนั้นก็ตาม การเปลี่ยนแปลงคนมากกว่าพันล้านคน และดินแดนอาณานิคมอีกหลากหลาย ให้ได้รับเอกราชและได้เป็นรัฐที่สมบูรณ์แบบนี้ ได้เป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทว่าการได้เอกราของชาติเกิดใหม่เหล่านี้ ก็มักจะเป็นผลให้คนหมู่มากทำการบีบบังคับให้ชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ยอมรับอธิปไตยของรัฐใหม่ไปด้วยโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ ปัญหาของคนกลุ่มน้อยที่อยู่ตามรัฐที่เกิดขึ้นใหม่นี้ มีผลกระทบต่อสันติภาพและเสถียรภาพระหว่างประเทศตามส่วนต่าง ๆ ของโลก อย่างเช่น ในตะวันออกกลาง (คือพวกปาเลสไตน์) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (คือพวกเขมร) และในอีกหลายรัฐที่เกิดใหม่ในทวีปแอฟริกา
การปกครองดินแดนและประชากร โดยอำนาจอธิปไตยภายนอก เป็นการดำเนินนโยบายลัทธิจักรวรรดินิยม ในทางประวัติศาสตร์นั้น ลัทธิล่าอาณานิคมนี้มีอยู่หลัก ๆ 2 แบบคือ (1)ลัทธิล่าอาณานิคมที่มีการอพยพผู้คนจากประเทศเมืองแม่เข้าไปเป็นกลุ่มทางการเมืองใหม่ในดินแดนที่ห่างไกลไม่ได้มีพรมแดนติดกับเมืองแม่ และ (2) ลัทธิล่าอาณานิคมที่เข้าไปบังคับใช้กฎเกณฑ์การปกครองเหนือคนพื้นเมืองที่มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีน้อยในทวีปเอเชียและแอฟริกา ไม่ว่าจะเป็นกรณีใดก็ตาม จะมีการตั้งอาณานิคมขึ้นมาเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางการทหาร ความก้าวหน้าทางการเศรษฐกิจและเกียรติภูมิระหว่างประเทศของมหาอำนาจเจ้าอาณานิคมนั้น
ความสำคัญ การต่อต้านสัมพันธภาพระหว่างผู้สูงส่งกับผู้ต่ำต้อย และลัทธิเหยียดผิวที่ปรากฏอยู่ในลัทธิล่าอาณานิคม ได้ก่อให้เกิดลัทธิชาตินิยมขึ้นในหมู่ประชาชนที่ตกเป็นอาณานิคมในทวีปเอเชีย และทวีปแอฟริกา ซึ่งเป็นพลังต่อต้านที่ยากจะต้านทานได้ในการเมืองโลกช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามโลกครั้งที่ 2 นี้ ได้บ่งบอกออกมาให้คนพื้นเมืองได้เห็นว่าพวกจักรวรรดินิยมผิวขาวไม่มีคุณสมบัติยืนยงคงกระพันติดตัวมาแต่กำเนิดอย่างที่เคยคุยโวโอ้อวดต่อไปแล้ว ประจักษ์พยานในข้อนี้ก็คือการที่กองทัพญี่ปุ่นสามารถมีชัยชนะพวกผิวขาวชาวตะวันตกนี้ในช่วงต้น ๆ ของสงคราม นอกจากนี้แล้วพวกมหาอำนาจล่าอาณานิคมหลายชาติในเอเชียต่างเหน็ดเหนื่อยเมื่อยล้าในสงครามครั้งนี้ไปตาม ๆ กัน จึงได้สมัครใจที่จะมอบเอกราชให้แก่อาณานิคมเหล่านี้ หรือไม่เช่นนั้นก็ต้องยอมให้เอกราชเนื่องเพราะผลมาจากการใช้ความรุนแรงเข้าต่อต้านของพวกคนพื้นเมือง ขบวนการเรียกร้องเอกราชต่างก็ได้เกิดขึ้นโดยมีแรงกระตุ้นมาจากหลักการทั้งหลาย ที่ระบุอยู่ในปฏิญญาว่าด้วยดินแดนที่ยังไม่ได้ปกครองตนเองของกฎบัตรสหประชาชาติ ซึ่งได้ใช้เป็นข้ออ้างเป็นความชอบธรรมที่จะเรียกร้องเอกราช เมื่อถึง ค.ศ. 1960 ได้เกิดชาติใหม่ ๆ ขึ้นมาทำให้สหประชาชาติมีสมาชิกเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็นสองเท่าตัว จึงช่วยให้การโจมตีต่อลัทธิล่าอาณานิคมมีพลังเข้มแข็งมากยิ่งขึ้น ในปีเดียวกันนี้เองสมัชชใหญ่สหประชาชาติได้ยอมรับปฏิญญาว่าด้วยการให้เอกราชแก่ประเทศอาณานิคมและประชาชนในอาณานิคมนั้น ๆ และในปีถัดมา สมัชชาฯ นี้ก็ได้จัดตั้งคณะกรรมาธิการพิเศษว่าด้วยการปลดปล่อยอาณานิคมเพื่อทำให้หลักการเหล่านี้เป็นจริงขึ้นมาให้จงได้ กระแสของขบวนการเรียกร้องเอกราชนี้ได้เริ่มขึ้นในเอเชียแล้วก็ได้ไหลบ่าเข้าสู่ทวีปแอฟริกา เมื่อช่วงปลายทศวรรษหลังปี ค.ศ. 1950 และในช่วงทศวรรษหลังปี ค.ศ.1960 ซึ่งก็ได้ส่งผลให้มีชาติเกิดขึ้นมาใหม่ในระบบรัฐอีกจำนวนมาก ดินแดนของโปรตุเกส คือ แองโกลา และโมแซมบิก ดินแดนของโปรตุเกส คือ กินี ตลอดจนดินแดนในอาณัติของสันนิบาตชาติ คือ แอฟริกาตะวันตกเฉียงใต้ (นามิเบีย) ต่างก็ได้ตกเป็นเป้าหมายสำคัญของความพยายามที่จะปลดปล่อยอาณานิคมของสันนิบาตชาติ เมื่อรัฐที่อดีตเคยเป็นอาณานิคมเหล่านี้ มีจำนวนมากเป็นประเทศส่วนใหญ่ในสมัชชาใหญ่ ก็ได้ช่วยกันหันเหความสนใจของสหประชาชาติไปสู่ปัญหาของการพัฒนาทางการเมือง การสังคม และการเศรษฐกิจ อย่างไรก็ดี แนวความคิดเกี่ยวกับลัทธิล่าอาณานิคมแบบใหม่ ที่กลัวว่าชาวตะวันตกจะกลับมายึดอาณานิคมใหม่ได้ก่อให้เกิดการประดักประเดิดในหมู่ประเทศที่เกิดใหม่เหล่านี้ คือ เมื่อประเทศเหล่านี้ต้องการความช่วยเหลือจากอดีตเจ้าอาณานิคมของตน แต่ในขณะเดียวกันก็ไม่ต้องการให้อดีตเจ้าอาณานิคมเหล่านี้เข้ามาแทรกแซงในกิจการภายในของพวกตน กระนั้นก็ตาม การเปลี่ยนแปลงคนมากกว่าพันล้านคน และดินแดนอาณานิคมอีกหลากหลาย ให้ได้รับเอกราชและได้เป็นรัฐที่สมบูรณ์แบบนี้ ได้เป็นปรากฏการณ์ที่สำคัญยิ่งอย่างหนึ่งของช่วงเวลาหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ทว่าการได้เอกราของชาติเกิดใหม่เหล่านี้ ก็มักจะเป็นผลให้คนหมู่มากทำการบีบบังคับให้ชนกลุ่มน้อยต่าง ๆ ยอมรับอธิปไตยของรัฐใหม่ไปด้วยโดยตั้งใจและไม่ตั้งใจ ปัญหาของคนกลุ่มน้อยที่อยู่ตามรัฐที่เกิดขึ้นใหม่นี้ มีผลกระทบต่อสันติภาพและเสถียรภาพระหว่างประเทศตามส่วนต่าง ๆ ของโลก อย่างเช่น ในตะวันออกกลาง (คือพวกปาเลสไตน์) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (คือพวกเขมร) และในอีกหลายรัฐที่เกิดใหม่ในทวีปแอฟริกา
Dependent Territory : Colony
ดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเอง : อาณานิคม
การถือครองดินแดนที่อยู่ห่างไกลของรัฐที่มีอำนาจอธปไตย อาณานิคมนี้จัดตั้งขึ้นมาได้โดยการตั้งนิคม การยกให้และการพิชิต การได้มาซึ่งอาณานิคมนี้บ่งบอกว่า เป็นการดำเนินนโยบายจักรวรรดินิยมที่ประสบความสำเร็จ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ดินแดนส่วนใหญ่ของทวีปเอเชียและดินแดนเกือบจะทั้งหมดของทวีปแอฟริกาได้ถูกเฉือนแบ่งกันเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยียม เยอรมนี อิตาลี สเปน โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์ อาณานิคมนี้แตกต่างจากดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองอื่น ๆ เช่น ดินแดนในอารักขา ดินแดนในเขตอิทธิพล และดินแดนที่เช่ามา ตรงที่เจ้าอาณานิคมมีอธิปไตยเต็มที่เหนืออาณานิคม
ความสำคัญ อาณานิคมมีประโยชน์แก่เจ้าอาณานิคม คือ เป็นตลาดสำหรับขายสิ่งประดิษฐ์ เป็นแหล่งวัตถุดิบและเป็นแหล่งการลงทุน เป็นที่ตั้งทางยุทธศาสตร์และเป็นแหล่งกำลังพลที่จะใช้ป้องกันประเทศ และเป็นสัญลักษณ์แห่งเกียรติภูมิ และเป็นที่เชิดหน้าชูตาในฐานะเป็นมหาอำนาจ อย่างไรก็ดี ในกระบวนการรักษาและบริหารอาณานิคมของตน ๆ นั้น เจ้าอาณานิคมได้ทำให้ประชาชนที่อยู่ในปกครองสามารถอ่านออกเขียนได้ ได้รับการศึกษา มีความสามารถที่จะเปรียบเทียบสภาพของตนกับสังคมอื่น ๆ ในโลก และก็ยังได้นำลัทธิชาตินิยมมาด้วย ซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจกับสถานภาพที่ต่ำต้อยของตน นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา อาณานิคมเกือบจะทั้งหมดต่างก็ได้เป็นรัฐเอกราชไปตาม ๆ ทั้งนี้โดยการเจรจาอย่างสันติกับประเทศเจ้าอาณานิคม โดยการใช้กำลัง หรือว่าโดยการประสานกันระหว่างสองอย่างนั้น
การถือครองดินแดนที่อยู่ห่างไกลของรัฐที่มีอำนาจอธปไตย อาณานิคมนี้จัดตั้งขึ้นมาได้โดยการตั้งนิคม การยกให้และการพิชิต การได้มาซึ่งอาณานิคมนี้บ่งบอกว่า เป็นการดำเนินนโยบายจักรวรรดินิยมที่ประสบความสำเร็จ ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 ดินแดนส่วนใหญ่ของทวีปเอเชียและดินแดนเกือบจะทั้งหมดของทวีปแอฟริกาได้ถูกเฉือนแบ่งกันเป็นอาณานิคมของอังกฤษ ฝรั่งเศส เบลเยียม เยอรมนี อิตาลี สเปน โปรตุเกส และเนเธอร์แลนด์ อาณานิคมนี้แตกต่างจากดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเองอื่น ๆ เช่น ดินแดนในอารักขา ดินแดนในเขตอิทธิพล และดินแดนที่เช่ามา ตรงที่เจ้าอาณานิคมมีอธิปไตยเต็มที่เหนืออาณานิคม
ความสำคัญ อาณานิคมมีประโยชน์แก่เจ้าอาณานิคม คือ เป็นตลาดสำหรับขายสิ่งประดิษฐ์ เป็นแหล่งวัตถุดิบและเป็นแหล่งการลงทุน เป็นที่ตั้งทางยุทธศาสตร์และเป็นแหล่งกำลังพลที่จะใช้ป้องกันประเทศ และเป็นสัญลักษณ์แห่งเกียรติภูมิ และเป็นที่เชิดหน้าชูตาในฐานะเป็นมหาอำนาจ อย่างไรก็ดี ในกระบวนการรักษาและบริหารอาณานิคมของตน ๆ นั้น เจ้าอาณานิคมได้ทำให้ประชาชนที่อยู่ในปกครองสามารถอ่านออกเขียนได้ ได้รับการศึกษา มีความสามารถที่จะเปรียบเทียบสภาพของตนกับสังคมอื่น ๆ ในโลก และก็ยังได้นำลัทธิชาตินิยมมาด้วย ซึ่งทำให้เกิดความไม่พอใจกับสถานภาพที่ต่ำต้อยของตน นับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา อาณานิคมเกือบจะทั้งหมดต่างก็ได้เป็นรัฐเอกราชไปตาม ๆ ทั้งนี้โดยการเจรจาอย่างสันติกับประเทศเจ้าอาณานิคม โดยการใช้กำลัง หรือว่าโดยการประสานกันระหว่างสองอย่างนั้น
Dependent Territory : Leasehold
ดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเอง : ดินแดนเช่ามา
ดินแดนที่ถูกใช้สอยโดยรัฐต่างประเทศ ภายใต้ข้อตกลงให้เช่ากับเจ้าอธิปไตยแห่งดินแดนนั้น การเช่านี้อาจจะเป็นการเช่าในช่วงเวลาสั้น ๆ หรือเป็นการเช่าช่วงยาวนานก็ได้ การที่ผู้เช่าจะมีอำนาจเหนือดินแดนที่เช่ามากน้อยเพียงใดนั้น ก็จะมีการกำหนดไว้ในข้อตกลงเฉพาะเป็นกรณี ๆ ไป ข้อตกลงให้เช่านี้ บางทีก็ทำกันโดยอิสระด้วยความสมัครใจ แต่บางทีก็ใช้วิธีบังคับมากบ้างน้อยบ้าง ด้วยเทคนิควิธีการเช่านี่เองที่ทำให้มหาอำนาจสำคัญ ๆ ในทวีปยุโรปได้สิทธิทางการค้าในจีนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19
ความสำคัญ การให้เช่าดินแดนนี้ เป็นการผ่อนปรนแก่ต่างชาติ จึงเป็นที่มาของความตึงเครียดและความขัดแย้งในยุคลัทธิชาตินิยมกำลังระบาดอยู่นี้ ตัวอย่างของการเช่าดินแดนแบบนี้ ได้แก่ อังกฤษเช่าเกาะเกาลูนซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเกาะฮ่องกง และสหรัฐอเมริกาเช่าอ่าวกวนตานาโมในคิวบา ในความเห็นของพวกชาตินิยมเห็นว่า การให้ต่างชาติเช่าเช่นนี้ เป็นการจำกัดสิทธิในการใช้อธิปไตยเหนือดินแดน และเป็นการส่อแสดงถึงความสัมพันธ์แบบผู้สูงส่งกับผู้ต่ำต้อยซึ่งยอมรับไม่ได้
ดินแดนที่ถูกใช้สอยโดยรัฐต่างประเทศ ภายใต้ข้อตกลงให้เช่ากับเจ้าอธิปไตยแห่งดินแดนนั้น การเช่านี้อาจจะเป็นการเช่าในช่วงเวลาสั้น ๆ หรือเป็นการเช่าช่วงยาวนานก็ได้ การที่ผู้เช่าจะมีอำนาจเหนือดินแดนที่เช่ามากน้อยเพียงใดนั้น ก็จะมีการกำหนดไว้ในข้อตกลงเฉพาะเป็นกรณี ๆ ไป ข้อตกลงให้เช่านี้ บางทีก็ทำกันโดยอิสระด้วยความสมัครใจ แต่บางทีก็ใช้วิธีบังคับมากบ้างน้อยบ้าง ด้วยเทคนิควิธีการเช่านี่เองที่ทำให้มหาอำนาจสำคัญ ๆ ในทวีปยุโรปได้สิทธิทางการค้าในจีนในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19
ความสำคัญ การให้เช่าดินแดนนี้ เป็นการผ่อนปรนแก่ต่างชาติ จึงเป็นที่มาของความตึงเครียดและความขัดแย้งในยุคลัทธิชาตินิยมกำลังระบาดอยู่นี้ ตัวอย่างของการเช่าดินแดนแบบนี้ ได้แก่ อังกฤษเช่าเกาะเกาลูนซึ่งอยู่ตรงข้ามกับเกาะฮ่องกง และสหรัฐอเมริกาเช่าอ่าวกวนตานาโมในคิวบา ในความเห็นของพวกชาตินิยมเห็นว่า การให้ต่างชาติเช่าเช่นนี้ เป็นการจำกัดสิทธิในการใช้อธิปไตยเหนือดินแดน และเป็นการส่อแสดงถึงความสัมพันธ์แบบผู้สูงส่งกับผู้ต่ำต้อยซึ่งยอมรับไม่ได้
Dependent Territory : Protectorate
ดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเอง : ดินแดนในอารักขา
สัมพันธภาพระหว่างรัฐที่เข้มแข็งกับรัฐกึ่งเอกราช หรือดินแดนหรือประชาชนที่ยังมิได้มีการรับรองว่าเป็นรัฐ ดินแดนในอารักขานี้ สามารถทำได้โดยวิธีสมัครใจ และโดยใช้กำลังบังคับ แต่โดยปกติแล้วเป็นการกระทำเพื่อสกัดกั้นผลประโยชน์ของรัฐที่สาม หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในดินแดนที่ยังไม่มีรัฐบาลใดรับผิดชอบ คำว่า "ดินแดนในอารักขา" นี้ ยังหมายถึงประเทศนั้นตกอยู่ภายใต้การอารักขาก็ได้ ส่วนการที่รัฐต่างประเทศจะสามารถใช้อำนาจอธิปไตยในดินแดนอารักขาได้มากน้อยเพียงใดก็จะถูกควบคุมโดยสนธิสัญญาที่ลงนามกันระหว่างคู่สัญญา
ความสำคัญ ดินแดนในอารักขานี้ เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่รัฐที่มีอำนาจมาก ๆ สามารถควบคุมดินแดนอื่นโดยที่ไม่ต้องผนวกดินแดนนั้นจริง ๆ โดยปกติแล้ว ผู้อารักขาอย่างน้อยที่สุดก็จะทำการควบคุมในกิจการต่างประเทศและในการป้องกันประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และในช่วงต้น ๆ คริสต์ศตวรรษที่ 20 ฝรั่งเศสได้สถาปนาดินแดนในอารักขาเหนือตูนิเซีย และดินแดนต่าง ๆ ในโมรอคโค ส่วนอังกฤษก็ได้ทำข้อตกลงแบบเดียวกันนี้กับอียิปต์ ญี่ปุ่นทำกับเกาหลี และสหรัฐอเมริกาก็ทำกับคิวบา อังกฤษต้องการจะรักษาความสงบเรียบร้อย จึงได้จัดการอารักขาขึ้นในดินแดนต่าง ๆ ที่อยู่ติดกับอาณานิคมของตนในแกมเบียและเซียร์รา ลีออง ดินแดนในอารักขาเหล่านี้ได้หายไปอย่างรวดเร็วในยุคที่เกิดลัทธิชาตินิยมขึ้นมา ซึ่งทำให้ผู้คนทั้งหลายไม่ยอมรับสถานภาพตกเป็นเบี้ยล่างนี้อีกต่อไป
สัมพันธภาพระหว่างรัฐที่เข้มแข็งกับรัฐกึ่งเอกราช หรือดินแดนหรือประชาชนที่ยังมิได้มีการรับรองว่าเป็นรัฐ ดินแดนในอารักขานี้ สามารถทำได้โดยวิธีสมัครใจ และโดยใช้กำลังบังคับ แต่โดยปกติแล้วเป็นการกระทำเพื่อสกัดกั้นผลประโยชน์ของรัฐที่สาม หรือเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในดินแดนที่ยังไม่มีรัฐบาลใดรับผิดชอบ คำว่า "ดินแดนในอารักขา" นี้ ยังหมายถึงประเทศนั้นตกอยู่ภายใต้การอารักขาก็ได้ ส่วนการที่รัฐต่างประเทศจะสามารถใช้อำนาจอธิปไตยในดินแดนอารักขาได้มากน้อยเพียงใดก็จะถูกควบคุมโดยสนธิสัญญาที่ลงนามกันระหว่างคู่สัญญา
ความสำคัญ ดินแดนในอารักขานี้ เป็นเครื่องมืออย่างหนึ่งที่รัฐที่มีอำนาจมาก ๆ สามารถควบคุมดินแดนอื่นโดยที่ไม่ต้องผนวกดินแดนนั้นจริง ๆ โดยปกติแล้ว ผู้อารักขาอย่างน้อยที่สุดก็จะทำการควบคุมในกิจการต่างประเทศและในการป้องกันประเทศ ยกตัวอย่างเช่น ในช่วงปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และในช่วงต้น ๆ คริสต์ศตวรรษที่ 20 ฝรั่งเศสได้สถาปนาดินแดนในอารักขาเหนือตูนิเซีย และดินแดนต่าง ๆ ในโมรอคโค ส่วนอังกฤษก็ได้ทำข้อตกลงแบบเดียวกันนี้กับอียิปต์ ญี่ปุ่นทำกับเกาหลี และสหรัฐอเมริกาก็ทำกับคิวบา อังกฤษต้องการจะรักษาความสงบเรียบร้อย จึงได้จัดการอารักขาขึ้นในดินแดนต่าง ๆ ที่อยู่ติดกับอาณานิคมของตนในแกมเบียและเซียร์รา ลีออง ดินแดนในอารักขาเหล่านี้ได้หายไปอย่างรวดเร็วในยุคที่เกิดลัทธิชาตินิยมขึ้นมา ซึ่งทำให้ผู้คนทั้งหลายไม่ยอมรับสถานภาพตกเป็นเบี้ยล่างนี้อีกต่อไป
Dependent Territory : Sphere of Influence
ดินแดนที่ไม่ได้ปกครองตนเอง : เขตอิทธิพล
ดินแดนที่ถูกครอบงำโดยผลประโยชน์แห่งชาติของมหาอำนาจต่างชาติ ในเขตอิทธิพลที่ว่านี้ มหาอำนาต่างชาติมิได้มีอธิปไตยเพียงแต่ได้ยัดเยียดภาวะจำยอมระหว่างประเทศให้ ซึ่งก็ไปจำกัดการใช้อธิปไตยเหนือดินแดนของรัฐเจ้าอธิปไตยท้องถิ่นมิให้ใช้ได้โดยอิสระ ภาวะจำยอมนี้อาจจะมีลักษณะเชิงบวก คือ เป็นแบบที่รัฐผู้มีอำนาจได้รับสิทธิในการผูกขาดผลประโยชน์ทางการค้า หรืออาจจะมีลักษณะเป็นเชิงลบ คือ แบบที่รัฐอ่อนแอถูกกำหนดให้งดเว้นจากการสร้างแนวป้องกันตามแนวพรมแดน เป็นต้น
ความสำคัญ เขตอิทธิพลนี้ สามารถสร้างขึ้นมาโดยการตกลงกับเจ้าอธิปไตยเหนือดินแดนนั้นหรือไม่ก็ได้ แต่ตามปกติแล้ว เขตอิทธิพลนี้ รัฐที่สามจะยินยอมให้สร้างขึ้นมาได้นั้น จะต้องมีอะไรมอบให้เป็นการแลกเปลี่ยนกัน ในทำนอง "หมูไปไก่มา" นั่นก็หมายถึงว่าเป็นการรับรองความเป็นใหญ่ของรัฐใดรัฐหนึ่งในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง และเป็นการตกลงที่จะไม่แทรกแซงในดินแดนส่วนนั้น ๆ ของรัฐที่อ่อนแอเพื่อผลประโยชน์แห่งชาติตน เขตอิทธิพลนี้อาจจะถูกสถาปนาขึ้นมาแล้วได้รับการรับรองเป็นทางการ เช่นกระทำในรูปของสนธิสัญญาก็ได้ อังกฤษกับรัสเซียได้ทำการตกลงกันเมื่อปี ค.ศ. 1907 ที่จะรับรองเขตอิทธิพลของกันและกันในดินแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทางเหนือของเปอร์เซีย (อิหร่าน) ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น และรัสเซีย ได้สร้างเขตอิทธิพลขึ้นในประเทศจีน คำว่า”เขตอิทธิพล"นี้ก็ยังมีการนำไปใช้เมื่อพูดถึงดินแดนที่รัฐใดรัฐหนึ่งสามารถขยายอำนาจครอบงำเข้าไปได้ อย่างเช่น ในกรณีของสหรัฐอเมริกาในดินแดนแถบคาริบเบียน จีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสหภาพโซเวียตในยุโรปตะวันออก
ดินแดนที่ถูกครอบงำโดยผลประโยชน์แห่งชาติของมหาอำนาจต่างชาติ ในเขตอิทธิพลที่ว่านี้ มหาอำนาต่างชาติมิได้มีอธิปไตยเพียงแต่ได้ยัดเยียดภาวะจำยอมระหว่างประเทศให้ ซึ่งก็ไปจำกัดการใช้อธิปไตยเหนือดินแดนของรัฐเจ้าอธิปไตยท้องถิ่นมิให้ใช้ได้โดยอิสระ ภาวะจำยอมนี้อาจจะมีลักษณะเชิงบวก คือ เป็นแบบที่รัฐผู้มีอำนาจได้รับสิทธิในการผูกขาดผลประโยชน์ทางการค้า หรืออาจจะมีลักษณะเป็นเชิงลบ คือ แบบที่รัฐอ่อนแอถูกกำหนดให้งดเว้นจากการสร้างแนวป้องกันตามแนวพรมแดน เป็นต้น
ความสำคัญ เขตอิทธิพลนี้ สามารถสร้างขึ้นมาโดยการตกลงกับเจ้าอธิปไตยเหนือดินแดนนั้นหรือไม่ก็ได้ แต่ตามปกติแล้ว เขตอิทธิพลนี้ รัฐที่สามจะยินยอมให้สร้างขึ้นมาได้นั้น จะต้องมีอะไรมอบให้เป็นการแลกเปลี่ยนกัน ในทำนอง "หมูไปไก่มา" นั่นก็หมายถึงว่าเป็นการรับรองความเป็นใหญ่ของรัฐใดรัฐหนึ่งในภูมิภาคใดภูมิภาคหนึ่ง และเป็นการตกลงที่จะไม่แทรกแซงในดินแดนส่วนนั้น ๆ ของรัฐที่อ่อนแอเพื่อผลประโยชน์แห่งชาติตน เขตอิทธิพลนี้อาจจะถูกสถาปนาขึ้นมาแล้วได้รับการรับรองเป็นทางการ เช่นกระทำในรูปของสนธิสัญญาก็ได้ อังกฤษกับรัสเซียได้ทำการตกลงกันเมื่อปี ค.ศ. 1907 ที่จะรับรองเขตอิทธิพลของกันและกันในดินแดนทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทางเหนือของเปอร์เซีย (อิหร่าน) ในระหว่างคริสต์ศตวรรษที่ 19 อังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี ญี่ปุ่น และรัสเซีย ได้สร้างเขตอิทธิพลขึ้นในประเทศจีน คำว่า”เขตอิทธิพล"นี้ก็ยังมีการนำไปใช้เมื่อพูดถึงดินแดนที่รัฐใดรัฐหนึ่งสามารถขยายอำนาจครอบงำเข้าไปได้ อย่างเช่น ในกรณีของสหรัฐอเมริกาในดินแดนแถบคาริบเบียน จีนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และสหภาพโซเวียตในยุโรปตะวันออก
Subscribe to:
Posts (Atom)